เรื่องของยุง

“ยุงลาย”ดื้อต่อสารเคมีไซเพอร์เมทริน

 

กรมคุมโรคปรับสูตรยาฆ่ายุงลาย หลังพบว่ามีการดื้อยา

        นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง และสำนักงาน

ป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 ได้มีการเฝ้าระวังยุงดื้อต่อสารเคมีทั่ว ประเทศ จากข้อมูลพบว่า ยุงลายบ้านพาหะนำโรคไข้เลือดออก

ทั่วประเทศมีการดื้อต่อสารเคมีไซเพอร์เมทริน ระดับต่ำจนถึงระดับสูง

        นอกจากนั้นกรมควบคุมโรคยังพบว่ายุงลายบ้านทั่วประเทศดื้อต่อสารกำจัดแมลงเพอร์มิทริน (permethrin) ระดับสูงกระจาย

ทั่วประเทศเช่นกัน ซึ่งสารเคมีทั้งสองชนิดเป็นที่นิยมใช้ในการกำจัด แมลง แต่สำหรับยุงก้นปล่องพาหะนำไข้มาลาเรียยังไม่ดื้อ

ต่อสารกำจัดแมลงทั้งสองชนิดนี้อย่างไร ก็ดี กรมควบคุมโรค ไม่ได้นำสารเคมีไซเพอร์เมทริน มาใช้ในการควบคุมยุงพาหะนำโรค

แต่อย่างใด และแนะนำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่าใช้สารเคมีไซเพอร์เมทริน ๖ มาใช้ควบคุมยุงพาหะ นำโรคไข้เลือดออก

อย่างต่อเนื่อง ในการควบคุมยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคได้ใช้ สารเคมีไพรีทรอยด์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เดลต้ามิทริน

(deltamethrin) ซีต้าไซเปอร์มิทริน สูตรผสม จากการทดสอบประสิทธิภาพพบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม ส่วนการควบคุม

ยุงพาหะนำไข้ มาลาเรีย กรมควบคุมโรคได้ใช้สารเคมีไพรีทรอยด์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เดลต้ามิทริน ไบเฟนทริน (bifenthrin) มาใช้

พ่นเพื่อการควบคุมโดยประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสืบค้น

       ข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

ยุงบินฝ่าสายฝนได้อย่างไร

    

         แม้ว่ายุงจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเม็ดน้ำฝนถึง 50 เท่า แต่มันก็สามารถบินฝ่าพายุฝนได้อย่างสบายๆ

   เนื่องจากยุงมีขนาดเล็ก เมื่อถูกเม็ดน้ำฝนกระทบ พลังงานจลน์ของน้ำฝนจึงถ่ายทอดมาที่ตัวยุงน้อยมาก

   เม็ดน้ำฝนจะร่วงผ่านตัวยุงไปราวกับไม่ได้ชนกับอะไร แม้ยุงจะเป๋ไปชั่วขณะ แต่เพียงแป๊ปเดียวมันก็จะใช้

   ขาและปีกช่วยปรับคืนสมดุลร่างกายและบินต่อไปได้  

   ที่มา : ข้อมูลจากหนังสือ SCIENCE ILLUSTRATED ฉบับ JUNE No. 24/2013 

Visitors: 153,440